วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

คู่มือการใช้เวอร์เนียร์คาลิเปอร์

ขั้นตอนในการใช้เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ในการวัดขนาดงาน
1. ตรวจสอบเครื่องมือวัด ดังนี้ 1.1 ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาด ทุกชิ้นส่วนของเวอร์เนียร์ก่อนใช้งาน 1.2 คลายล็อคสกรู แล้วทดลองเลื่อนเวอร์เนียสเกลไป-มาเบา ๆ เพื่อตรวจสอบดูว่าสามารถใช้งานได้คล่องตัวหรือไม่ 1.3 ตรวจสอบปากวัดของเวอร์เนียโดยเลื่อนเวอร์เนียร์สเกลให้ปากเวอร์เนียวัดนอกเลื่อนชิดติดกันจากนั้นยกเวอร์เนียร์ขึ้นส่องดูว่า บริเวณปากเวอร์เนียร์ มีแสงสว่างผ่านหรือไม่ ถ้าไม่มีแสดงว่าสามารถใช้งานได้ดี กรณีที่แสงสว่างสามารถลอดผ่านได้ แสดง ว่าปากวัดชำรุดไม่ควรนำมาใช้วัดขนาด2. การวัดขนาดงาน ตามลำดับขั้นดังนี้ 2.1 ทำความสะอาดบริเวณผิวงานที่ต้องการวัด 2.2 เลือกใช้ปากวัดงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ต้องการ เช่น ถ้าต้องการวัดขนาดภายนอกเลือกใช้ปากวัดนอก วัดขนาดด้านในชิ้นงานเลือใช้ปากวัดใน ถ้าต้องการวัดขนาดงานที่ที่เป็นช่องเล็ก ๆ ใช้บริเวณส่วนปลายของปากวัดนอก ซื่งมีลักษณะเหมือนคมมีดทั้ง 2 ด้าน 2.3 เลื่อนเวอร์เนียร์สเกลให้ปากเวอร์เนียร์สัมผัสชิ้นงาน ควรใช้แรงกดให้พอดีถ้าใช้แรงมากเกินไป จะทำให้ขนาดงานที่อ่านไม่ถูกต้องและปากเวอร์เนียร์จะเสียรูปทรง 2.4 ขณะวัดงาน สายตาต้องมองตั้งฉากกับตำแหน่งที่อ่าน แล้วจึงอ่านค่า3. เมื่อเลิกปฏิบัติงาน ควรทำความสะอาด ชะโลมด้วยน้ำมัน และเก็บรักษาด้วยความระมัดระวัง ในกรณีที่ไม่ได้ใช้งานนาน ๆ ควรใช้วาสลีนทาส่วนที่จะเป็นสนิม
ข้อควรระวังในการใช้เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์
1. ต้องทำความสะอาดและลบคมชิ้นงานก่อนใช้เครื่องมือวัดทุกครั้ง 2. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของปากเวอร์เนียร์ก่อนวัด 3. อย่าวัดชิ้นงานขณะที่ชิ้นงานกำลังหมุนอยู่ 4. อย่าวัดชิ้นงานขณะที่ชิ้นงานยังร้อนอยู่ 5. อย่าเลื่อนหรือลากปากวัดไป-มา บนชิ้นงาน จะทำให้ปากเวอร์เนียร์ลึกได้ 6. อย่าใช้ปากวัดนอกหรือปากวัดในขีดขนาดงาน เวลาร่างแบบ หรือขณะวัดงาน
การเก็บและบำรุงรักษาเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์
1. วางเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ไว้บนผ้าหรือแผ่นไม้ 2. อย่าเก็บเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ในที่ร้อนจัดหรือเย็นจัดเกินไป 3. ถ้าปากวัดนอกหรือปากวัดในเย็น ให้ขัดด้วยหินน้ำมันด้านละเอียด 4. ทำความสะอาดและทาน้ำมันกันสนิมทุกครั้ง ภายหลังการใช้งาน 5. แยกเก็บเวอร์เนียร์ไว้ต่างหาก ห้ามวางปนกับเครื่องมือมีคม 6. ไม่ควรนำเวอร์เนียร์ใส่กระเป๋าหลังของกางเกง อาจทำให้คองอได้
ขั้นตอนการใช้ไมโครมิเตอร์วัดขนาดงาน
1. เช็ดทำความสะอาดไมโครมิเตอร์ก่อนวัดงาน 2. หมุนคลายไมโครมิเตอร์ ให้ปากวัดใหญ่กว่าขนาดงาน 3. หมุนเลื่อนสเกลเลื่อนให้แกนวัดหมุนเข้าใกล้งาน หลังจากนั้นหมุนที่ปลอกกระทบเลื่อน (RATCHET STOP) ให้สัมผัสงานเสียงดังประมาณ 3 กริ๊ก เพื่อป้องกันการใช้แรงหมุนไมโครมิเตอร์มากเกินไป จะทำให้ขนาดที่วัดผิดพลาด 4. ขณะวัดขนาดงานแกนวัดจะต้องตั้งฉากกับงาน 5. การอ่านค่าวัดควรอ่านค่าขณะทำการวัดถ้าไม่สามารถอ่านค่าได้ให้ล็อคตำแหน่งแล้วค่อยนำไมโครมิเตอร์ออกมาอ่านค่าข้างนอก
ข้อควรระวังในการใช้ไมโครมิเตอร์วัดนอก
1. ใช้วัดงานที่ผ่านการขึ้นรูปแล้วไม่ควรใช้วัดผิวงานดิบ 2. งานที่ใช้ไมโครมิเตอร์วัดขนาดงานควรมีผิวเรียบ 3. ขณะทำการวัดงานไม่ควรเลื่อนไมโครมิเตอร์ไป-มา เพราะจะทำให้แกนวัดลึก 4. ใช้ไมโครมิเตอร์วัดและอ่านค่าชิ้นงานทันที ไม่ควรยกไมโครมิเตอร์ออกจากชิ้นงานเพื่ออ่านค่า เพราะจะทำให้ค่าที่ได้จากการวัดผิดพลาด 5. ห้ามวัดงานในขณะที่กำลังหมุนหรือเคลื่อนที่ 6. ควรตรวจสอบความเที่ยงตรงของไมโครมิเตอร์ก่อนใช้งาน 7. ไมโครมิเตอร์เป็นเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงสูง ไม่ควรทำให้ตกลงพื้น 8. ควรวางไมโครมิเตอร์บนผ้านุ่ม และแยกออกจากเคื่องมือมีคม 9. การตรวจซ่อมไมโครมิเตอร์ควรศึกษารายละเอียดจากคู่มือให้ชัดเจนก่อน 10. ภายหลังการใช้งานแล้วควรทำความสะอาดชะโลมน้ำมัน หรือถ้าเก็บไว้เป็นเวลานานควรใช้วาสลินทาแกนวัดทั้งสองด้าน
การปรับและตรวจสอบความเที่ยงตรง
ขั้นตอนที่ 1 การทำความสะอาดปากวัด ให้นำกระดาษที่อ่อนนุ่มใส่ระหว่างแกนรับ(Anvil) กับแกนวัด(Spindle) หมุนแกนวักให้ติดกระดาษ และเลื่อนกระดาษไป-มา จะทำให้ปากวัดทั้งสองด้านสะอาดขั้นตอนที่ 2 ใช้มือซ้ายจับที่ปลอกสเกลหมุนวัด (Thimble) มือขวาใช้ประแจขันปรับเพื่อคลายล็อค เพราะปลอกกระทบเลื่อนจะยึดตัวปลอกแกนวัดกับแกนวัดเข้าด้วยกันขั้นตอนที่ 3 หมุนปลอกสเกลหมุนวัดให้ปลายแกนวักสัมผัสกับแกนวัดดูที่สเกลตรงศูนย์หรือไม่ ถ้าไม่ตรง ก็หมุนปรับลอกสเกลหลักให้ตรง (Sleeve or Barrel)ขั้นตอนที่ 4 หมุนแกนวักถอยหลัง โดยไม่ต้องมุนที่ปลอกสเกลหมุนวัดขั้นตอนที่ 5 ใช้มือซ้ายจับที่ปลอกสเกลหมุนวัด มือขวาหมุนที่ปลอกกระทบเลื่อน (Ratchet stop)ขั้นตอนที่ 6 ใช้ประแจขันล็อคที่ส่วนท้ายของปลอกกระทบเลื่อน (Ratchet) อีกครั้ง
วิธีวัดรูกลม จะต้องพยายามโยกไมโครมิเตอร์ในแนวขวางให้ได้ ค่าวัดสูงสุดและจะต้องพยายามดยกในแนวยางเพื่อให้ได้ค่าวัดเล็กที่สุด
วิธีวัดรูสี่เหลี่ยม จะต้องปรับตำแหน่งไมโครมิเตอร์ ทั้งในแนวยาวและแนวขวาง จนวัดได้ค่าวัดเล็กสุด
ขั้นตอนการใช้ไมโครมิเตอร์วัดลึก
ตรวจสอบความเที่ยงตรงของไมโครมิเตอร์วัดลึก1. โดยคลายไมโครมิเตอร์ถอยหลังสุด2. วางไมโครมิเตอร์ลงกับแท่นระดับ3. ให้สะพานยันเสมอกับแท่นระดับ4. หมุนปลอกหมุนกระทบเลื่อนให้แกนวัดชนแท่นระดับพอดี5. สังเกตว่าสเกลที่ปลอกสเกลหมุนวัดตรงกับขีด 0 บนสเกลหลักหรือไม่ ถ้าไม่ตรงใช้ประแจปรับที่ปลอกสเกลหลัก
ขั้นตอนการวัด
1. ใช้มือซ้ายสะพานยันให้แนบแน่นกับหน้างาน2. ค่อยหมุนปลอกสเกลหมุนวัด (Thimble) ให้แกนวัดเคลื่อนที่ลงมา3. เมื่อใกล้ระยะความลึกให้หมุนปลอก กระทบเลื่อนจนกระทั่งแกนวัดสัมผัสงาน
ขั้นตอนการใช้ในไมโครมิเตอร์วัดใน
1. ใช้บรรทัดวัดขนาดของรูที่ต้องการวัดให้ได้ขนาดใกล้เคียง2. นำชุดไมโครมิเตอร์มาใช้เพื่อวัดขนาดงาน ใช้ไมโครมิเตอร์ที่มีขนาดใกล้เคียงกับขนาดที่วัดได้จากบรรทัดวัด3. ขณะที่ปรับวัดไมโคมิเตอร์ ถ้าสามารถอ่าน ขณะที่ทำการวัดได้เลย ขนาดที่จะได้จะถูกต้อง4. ขั้นตอนที่ 4 ถ้าไม่สามารถอ่านค่าขณะวัดได้ ควรล็อคไมโครมิเตอร์ก่อนนำออกมาอาจใช้ไมโครมิเตอร์วัดนอกตรวจสอบขนาดจากไมโครมิเตอร์วัดในแล้วอ่านค่าก็ได้
การใช้เวอร์เนียร์ไฮเกจ
1. การใช้เวอร์เนียร์ส่วนมากจะใช้ทำงานบนแท่นระดับ 2. การตรวจสอบความเที่ยงตรงของเวอร์เนียร์ไฮเกจทำได้โดยเลื่อนเหล็กขีดลงต่ำสุดให้เหล็กขีดสัมผัสกับแท่นระดับ ให้ดูว่าขีด 0 ของสเกลหลักตรงกับสเกลเลื่อนหรือไม่ ถ้าไม่ตรงจะต้องปรับให้ตรงก่อนใช้งาน 3. วิธีตรวจสอบโดยใช้แท่งเกจบล็อคตรวจสอบขนาด และอ่านค่าที่เวอร์เนียร์ไฮเกจตรงกับขนาดของเกจบล็อคที่นำมาตรวจสอบหรือไม่ 4. การเคลื่อนเวอร์เนียร์ไฮเกจให้จับที่ฐานของเวอร์เนียร์ไม่ควรจับที่สเกลหลัก 5. แท่นระดับที่ใช้ร่างแบบงาน (Lay out) งานควรมีความราบเรียบ 6. การขีดเส้นโดยใช้เวอร์เนียร์ไฮเกจเส้นที่ขีดได้จะขนานกับแท่นระดับเท่านั้น 7. เส้นที่ขีดได้จะมีความคมชัด และได้ขนาดตามต้องการใช้ขีดได้ทั้งโลหะอ่อน และโลหะแข็ง ปลายของเหล็กขีดทำด้วยเหล็กไฮลปีด (Highspeed) หรือทำด้วยคาร์ไบต์ (Carbide) 8. เวอร์เนียร์ไฮเกจสามารถใช้ประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น นาฬิกาวัด

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

แผนการสอน

แผนการสอน
วิชาฝึกฝีมือเบื้องต้น รหัสวิชา 2100-1004 หน่วยที่ 3
ชื่อหน่วย เครื่องมือวัดและตรวจสอบ จำนวน 100 นาที
หัวชื่อเรื่อง การวัดและการอ่านค่า
__________________________________________________________________________________
สาระสำคัญ
เครื่องมือวัดสามารถวัดและอ่านค่าขนาดความโตภายนอก ขนาดความยาว ขนาดความโตภายในรูเจาะและขนาดความลึกของรูเจาะได้
จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
นักเรียนปฏิบัติการวัดและอ่านค่าได้
จุดประสงค์นำทาง
1.นักเรียนบอกเครื่องมือที่ใช้วัดได้ถูกต้อง
2.นักเรียนบอกการพัฒนาเครื่องมือวัดได้ถูกต้อง
3.นักเรียนบอกองค์ประกอบและลักษณะการวัดและอ่านค่าจากเวอร์เนียรคาลิเปอร์ได้
สาระการเรียนรู้
การวัดและอ่านค่า
1.เครื่องมือที่ใช้วัด
2.การพัฒนาเครื่องมือวัด
3.องค์ประกอบและลักษณะการวัดจากเวอร์เนียรคาลิเปอร์ได้
- การวัดภายนอก
- การวัดภายใน
- การวัดความลึก
- การอ่านค่า
กิจกรรมการเรียนรู้
1.ขั้นแสดงการใช้เครื่องมือที่ใช้วัด
1.1 จัดทำชั้นเรียนโดยแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน
1.2 นำเสนอสื่อโดยนำเครื่องมือที่ใช้วัดและชิ้นงานของจริงมาให้นักเรียนดูแล้วตั้งประเด็นคำถาม ถามนักเรียนเป็นรายบุคคล
1.3 ครูอธิบายเครื่องมือที่ใช้วัดและอ่านค่า แล้วทำการสาธิตการวัดและอ่านค่าให้นักเรียนดูแล้วมอบหมายให้นักเรียนวัดชิ้นงานโดยวัดลงในใบกำหนดงาน
1.4 ปฏิบัติใบกำหนดงานโดยนักเรียนปฏิบัติการวัดและอ่านค่าตามที่ครูสาธิตให้ดู
1.5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยให้นักเรียนแลกเปลี่ยนชิ้นงานและพูดคุยกันถึงผลงานที่ออกมาแล้วให้ครูดูเพื่อทำการแก้ไขให้ถูกต้อง
1.6 นำเสนอใบกำหนดงานให้ตัวแทนกลุ่มยืนขึ้นแล้วอธิบายให้เพื่อนกลุ่มอื่นฟัง
1.7 ประเมินผลสรุปเพิ่มเติมเนื้อหา
2.ขั้นแสดงการพัฒนาเครื่องมือวัด
2.1 จัดทำชั้นเรียนโดยแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มเดิม ข้อ 1.1
2.2 นำเสนอชื่อโดยนำเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นและชิ้นงานของจริงมาให้นักเรียนดูแล้วตั้งประเด็นคำถาม ถามนักเรียนเป็นรายบุคคล
2.3 ครูอธิบายการใช้เครื่องมือที่พัฒนาขึ้น แล้วทำการสาธิตการวัดและอ่านค่าให้นักเรียนดูแล้วมอบหมายให้นักเรียนวัดชิ้นงานโดยวัดลงในใบกำหนดงาน
2.4 ปฏิบัติใบกำหนดงานโดยนักเรียน ปฏิบัติการวัดและอ่านค่าตามที่ครูสาธิตให้ดู
2.5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยให้นักเรียนแลกเปลี่ยน ชิ้นงานและพูดคุยกันถึงผลงานที่ออกมาแล้วให้ครูดูเพื่อทำการแก้ไขให้ถูกต้อง
2.6 นำเสนอใบกำหนดงาน โดยให้ตัวแทนกลุ่มยืนขึ้นแล้วอธิบายให้เพื่อนกลุ่มอื่นฟัง
2.7 ประเมินผลสรุปเพิ่มเติมเนื้อหา
3. ขั้นแสดงองค์ประกอบและลักษณะการวัดจากเวอร์เนียรคาลิเปอร์
3.1 จัดทำชั้นเรียนโดยแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มเดิม ข้อ 1.1
3.2 นำเสนอสื่อโดยนำเวอร์เนียรคาลิเปอร์และชิ้นงานของจริงมาให้นักเรียนดู แล้วตั้งประเด็นคำถาม ถามนักเรียนเป็นรายบุคคล
3.3 ครูอธิบายองค์ประกอบและลักษณะการวัดจากเวอร์เนียรคาลิเปอร์ เช่น การวัดภายนอก การวัดภายใน การวัดความลึก และการอ่านค่า แล้วทำการสาธิตการวัดและอ่านค่าให้นักเรียนดูแล้วมอบหมายให้นักเรียนวัดชิ้นงานโดยวัดลงในใบกำหนดงาน
3.4 ปฏิบัติใบกำหนดงานโดยนักเรียน ปฏิบัติการวัดและอ่านค่าตามที่ครูสาธิตให้ดู
3.5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยให้นักเรียนแลกเปลี่ยนชิ้นงานและพูดคุยกันถึงผลงานที่ออกมา แล้วให้ครูดูเพื่อทำการแก้ไขให้ถูกต้อง
3.6 นำเสนอใบกำหนดงาน โดยตัวแทนกลุ่มยืนขึ้นแล้วอธิบายให้เพื่อนกลุ่มอื่นฟัง
3.7 ประเมินผลสรุปเพิ่มเติมเนื้อหา





สื่อและแหล่งการเรียนรู้
1. ไม้บรรทัด ตลับเมตร
2. คาลิเปอร์(เขาควายกับตีนผี)
3. เวอร์เนียรคาลิเปอร์
4. ชิ้นงาน
5. แผ่นใส
การวัดผล
1. วัดผลจากการใช้เครื่องมือที่ใช้วัดในใบกำหนดงานโดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
2. วัดผลจากการพัฒนาเครื่องมือวัดในใบกำหนดงานโดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
3. วัดผลจากการวัดและอ่านค่าเวอร์เนียรคาลิเปอร์ในใบกำหนดงานโดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
ประเมินผล
1. ประเมินผลการใช้เครื่องมือที่ใช้วัด พบว่านักเรียน....................คน การวัดและอ่านค่าไม่ได้แก้ไขด้วยการวัดและอ่านค่าเพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
2. ประเมินผลการพัฒนาเครื่องมือวัด พบว่านักเรียน....................คน การวัดและอ่านค่าไม่ได้แก้ไขด้วยการวัดและอ่านค่าเพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
3. ประเมินผลการวัดและอ่านค่าเวอร์เนียรคาลิเปอร์ พบว่านักเรียน...............คน การวัดและอ่านค่าไม่ได้แก้ไขด้วยการวัดและอ่านค่าเพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
บันทึกหลักการสอน
..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................